ปิดประตูให้จุลชีพ

ตอนคุณเปิดประตูคุณอาจไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าการเข้าห้องอื่นแต่ในระดับที่มองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์มันเหมือนคุณกำลังจับมือกับทุกคนที่เพิ่งสัมผัสลูกบิดประตู หรือมือจับเมื่อคุณจับมือจับประตูแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคอาจคว้าคุณไว้และติดตามคุณไปด้วย 1

แบคทีเรียบนมือจับประตูอาจเป็นมากกว่าแค่ฟังดูน่าขยะแขยงมันอาจเป็นปัญหาร้ายแรงในสำนักงานห้างสรรพสินค้าและพื้นที่สาธารณะอื่นๆไม่ต้องพูดถึงในสภาพแวดล้อมของสถานพยาบาลที่ในแต่ละปีมีคนเสียชีวิต 75,000 คนจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล2

แบคทีเรียอย่างเอสเชอริเชียโคไลและสแตฟฟิโลค็อกคัสออเรียสสามารถแพร่ความเจ็บป่วยรุนแรงได้ถ้าไม่ได้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อลูกบิดประตูเป็นประจำและ“เป็นประจำ” อาจจะบ่อยกว่าที่คุณคาดเอาไว้ก็เป็นได้นักวิจัยพบว่าเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะ เช่นเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัสออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลิน (MRSA) และเชื้อเอ็นเทอโรคอกคัสที่ดื้อยาแวนโคมัยซิน (VRE) จะฟื้นตัวมาอยู่เหนือระดับปลอดภัยภายในสองชั่วโมงหลังจากฆ่าเชื้อที่พื้นผิวไปแล้ว 3

ไม่มีใครมีเวลาทำความสะอาดลูกบิดประตูทุก ๆ สองชั่วโมงยิ่งไปกว่านั้นยาฆ่าเชื้อโรคมีสารเคมีรุนแรง เช่น สารฟอกขาวและเปอร์ออกไซด์ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจเป็นอันตรายหากกลืนกินทำร้ายผิวและทำลายหรือทำให้สีของวัตถุที่ถูกฆ่าเชื้อเปลี่ยนไป

โชคดีที่ธรรมชาติได้มอบความช่วยเหลือในการควบคุมการแพร่กระจายของแบคทีเรียในสิ่งแวดล้อมให้พวกเราเงินถูกนำมาใช้เป็นเวลานานหลายศตวรรษในฐานะสารต้านจุลชีพชาวกรีกโบราณชาวโรมันชาวฟินีเซียนและมาซิโดเนียนใช้ธาตุเงินเพื่อเก็บรักษาอาหารและน้ำหรือเพื่อรักษาบาดแผลและแผลผ่าตัดเงินแตกต่างจากสารฆ่าเชื้ออื่น ๆ เงินจำนวนเล็กน้อยจะไม่ฆ่าแบคทีเรียในทันทีที่สัมผัสแต่จะเข้าไปทำลายการเผาผลาญอาหารของแบคทีเรียและยับยั้งการแพร่พันธุ์ซึ่งในที่สุดจะกำจัดโคโลนีของแบคทีเรียไปจนหมด 4, 5, 6

การล้างมือและฆ่าเชื้อพื้นผิวเป็นประจำเป็นขั้นตอนสำคัญในการหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากแบคทีเรียที่ลูกบิดและมือจับประตูแต่ธาตุเงินต้านจุลชีพจะทำให้การปฏิบัติดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการทำให้พื้นผิวที่เป็นจุดแพร่แบคทีเรียเช่นลูกบิดประตูเป็นที่ที่ไม่เหมาะกับการอยู่รอดของแบคทีเรีย


อ้างอิง

  1. Wojgani H, Kehsa C, Cloutman-Green E, Gray C, Gant V, et al. Hospital door handle design and their contamination with bacteria: A real life observational study. Are we pulling against closed doors? PLoS ONE, 2012; 7(10): e40171. doi:10.1371/journal.pone.0040171
  2. Attaway, Hubert H. et al. Intrinsic bacterial burden associated with intensive care unit hospital beds: Effects of disinfection on population recovery and mitigation of potential infection risk. American Journal of Infection Control, 2013; 40(10), 907-912.
  3. Rosenkranz, H.S. &Carr, H.S. Silver sulfadiazine: Effect on the growth and metabolism of bacteria. Antimicrob Agents Chemother, 1972; 2(5):367-372 (and references cited therein).
  4. Jung, W. K., Koo, H. C., Kim, K. W., Shin, S., Kim, S. H., & Park, Y. H. Antibacterial activity and mechanism of action of the silver ion in Staphylococcus aureus and Escherichia coli. Applied and Environmental Microbiology, 2008; 74(7), 2171-2178.
  5. Morones-Ramirez, J., Winkler, J. A., Spina, C. S. & Collins, J.J. Silver Enhances Antibiotic Activity Against Gram-Negative Bacteria. Science Translational Medicine, 2013; 5(190), 190ra81. http://dx.doi.org/10.1126/scit....